ข่าวกิจกรรม


กิจกรรมที่ 5 ข้อ 5.2 กำหนดพื้นที่นำร่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม

- ดำเนินการประชุมคณะกรรมการบริหารหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จังหวัดยะลา ดำเนินการประชุม ครั้งที่ 4 วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 ผ่านระบบออนไลน์ (VDO Conference) นำเสนอในระเบียบวาระที่ 4 เรื่องนำเสนอเพื่อทราบ หัวข้อที่ 4.5 รายงานผลการดำเนินงานในโครงการฯ การเลือกพื้นที่นำร่องใช้นวัตกรรมแก้จน ซึ่งจังหวัดยะลาได้เลือก 2 อำเภอเป็นพื้นที่นำร่อง ได้แก่ อำเภอรามัน(ตำบลกอตอตือร๊ะและตำบลอาซ่อง) และอำเภอบันนังสตา (ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ) ซึ่งมีกิจกรรมที่ดำเนินการ ได้แก่ สำรวจค้นหา และสอบทานข้อมูลคนจน และพัฒนาโมเดลการแก้ปัญหาในพื้นที่นำร่องและการใช้นวัตกรรมแก้จน โดยการจัดเวทีประชาคมระดับตำบล - ดำเนินงานวันที่ 11 – 12 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประกายกาญจน์ ชั้น 2 เฟส 2 โรงแรมคริสตัล ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ร่วมสัมมนาเชิงปฎิบัติการ “การเชื่อมโยงกรอบแนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (SLF) กับการพัฒนาโมเดลแก้จน ในการขับเคลื่อนโมเดล แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม การออกแบบ กระบวนการเชื่อมโยงกลไลภาคีและการจัดทำแผนงาน กรอบการประเมินผลตอบแทนทางสังคมตามแนวทางดำรงชีอย่างยังยืน นำไปสู่การพัฒนาโมเดลแก้จน ในอำเภอนำร่อง 2 อำเภอ คือ อำเภอบันนังสตา และอำเภอรามัน และตำบลนำร่อง 3 ตำบล คือ 1. ตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลาใช้นวัตกรรมการยกระดับเกษตรแบบผสมผสาน (JAPO Model) 2. ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ใช้นวัตกรรมส่งเสริมธุรกิจเกษตรริมฝั่งแม่น้ำ 3. ตำบลกอตอตือร๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ใช้นวัตกรรมส่งเสริมอาชีพเพื่อการดำรงชีพและเชิงพาณิชย์ - ดำเนินงานวันที่ 24 – 25 มกราคม 2565 ณ ห้อง Eternity Ballroom โรงแรมพลูแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมนำร่อง 3 นวัตกรรมของจังหวัดยะลา คือ 1)นวัตกรรมการยกระดับเกษตรแบบผสมผสาน (JAPO Model) 2) นวัตกรรมส่งเสริมธุรกิจเกษตรริมฝั่งแม่น้ำ และ 3)นวัตกรรมส่งเสริมอาชีพเพื่อการดำรงชีพและเชิงพาณิชย์ และร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการสนับสนุนทุนวิจัย การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพิจารณาโมเดลแก้จนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ” โปรแกรมที่ 14 ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ

อ่านต่อ...
วันที่สร้าง: 31 พ.ค. 2566, 15:19
กิจกรรมที่ 5 ข้อ 5.1 พัฒนาระบบและกลไกการส่งต่อความช่วยเหลือ

- ดำเนินงานในเดือนสิงหาคม 2564 โดยมีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของ Core Team การส่งต่อความช่วยเหลือผู้ยากลำบากจังหวัดยะลา ซึ่งประกอบด้วยภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับระบบส่งต่อความช่วยเหลือ 3 ครั้ง 1. วันที่ 5 สิงหาคม 2564 ร่วมกันหารือแนวทางการพัฒนาระบบกลไกการส่งต่อความช่วยเหลือผู้ยากลำบากจังหวัดยะลา เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน 2. วันที่ 10 สิงหาคม 2564 เสนอระบบการส่งต่อความช่วยเหลือผู้ยากลำบากจังหวัดยะลา 3. วันที่ 13 สิงหาคม 2564 แผนการลงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือผู้ยากลำบากจังหวัดยะลา และเสนอข้อมูลผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากภาคีเครือข่าย ดังนี้ 1. มูลนิธิซากาตและสาธารณะกุศล 2. มูลนิธิศูนย์กลางอิสลามเพื่อการพัฒนายะลา 3. สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสำนักจุฬาราชมนตรี 4. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 5. มหาวิทยาลัยฟอฏอนี 6. สภาบันองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน) 7. บริษัทตอยีบัน - ดำเนินการประชุมการพัฒนาระบบและกลไกการส่งต่อความช่วยเหลือในวันที่ 25 สิงหาคม 2564 ระบบส่งต่อความช่วยเหลือ โดยการรวมกลุ่ม CoreTeam เพื่อสร้างกลไกการการดำเนินการแก้ไขปัญหาตามระบบ ส่งต่อความช่วยเหลือในพื้นที่เป้าหมาย และการเสนอให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลและส่งต่อความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางจังหวัดยะลา ภายใต้โครงการงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดยะลา โดยผ่านความเห็นจากคณะกรรมการ อว. ส่วนหน้า จังหวัดยะลา ในการประชุมครั้งที่2/2564 โดยมีการส่งต่อความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนผ่านศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดยะลา โดยระยะแรก เดือนสิงหาคม 2564 ที่จำนวน 5 คน ในอำเภอรามัน 2 คน คือ 1. นายอารง หะยีเบ็ญนา ตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา โดยมิติความยากจน 5 มิติ อยู่ในด้านรายได้ และด้านความเป็นอยู่ พบปัญหายากจนที่อยู่อาศัย ปัจจุบันอาศัยคอกแพะชาวบ้าน 2. นายดอเลาะ มะสิสุ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา โดยมิติความยากจน 5 มิติ อยู่ในด้านรายได้ และด้านความเป็นอยู่ พบปัญหายากจนที่อยู่อาศัย อาศัยอาคารสำนักงานเทศบาลฯเป็นที่พักอาศัย อาหารการกินได้จากการบริจาคของชาวบ้านในแต่ละมื้อ และอำเภอบันนังสตา จำนวน 3 คน คือ 1. นางตีเมาะ ปุเตะ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา โดยมิติความยากจน 5 มิติอยู่ในด้านสุขภาพและด้านรายได้ พบปัญหายากจนด้านรายได้ รายได้ได้มาจาก บัตรผู้พิการ/คนชรา เพราะพิการทางการเคลื่อนไหว อาศัยอยู่คนเดียว 2. นางสาวสีตีฮาลีเมาะ หะดอมิ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา โดยมิติความยากจน 5 มิติอยู่ในด้านรายได้ และด้านความเป็นอยู่ พบปัญหาอาชีพรับจ้างกรีดยาง อาศัยบ้านชาวบ้าน (มีที่ดิน) แต่ไม่มีกำลังทรัพย์สร้างบ้าน 3. นางแมะซง บือราเฮง ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา โดยมิติความยากจน 5 มิติอยู่ในด้านสุขภาพและด้านรายได้ พบปัญหายากจนรายได้ พิการด้านการมองเห็น อาศัยอยู่กับลูกสาว ลูกเขย และหลาน สลับกันดูแล อาชีพรับจ้างกรีดยาง ระยะที่สอง เดือนกันยายน 2564 ที่จำนวน 2 คน ในอำเภอบันนังสตา 2 คน คือ 1. นางสาวแมมูเน๊าะ แวนะไล ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จ.ยะลา พบปัญหาพิการด้านสติปัญญา ไม่สามารถสื่อสารได้ อยู่คนเดียว มีญาติที่อยู่ใกล้เคียงคอยดูแลเรื่อง อาหารการกิน 2. นายมนูญ ศิริสวัสดิ์ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จ.ยะลา พบปัญหาเป็นผู้สูงอายุ อัมพฤษต์ลิ้น เคลื่อนไหวไม่คล่อง อาศัยอยู่คนเดียว ไม่มีงานทำอาศัยเบี้ยพิการ และได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนบ้านและญาติเป็นบางครั้ง อีกทั้งในเดือนมกราคม 2565 อยู่ระหว่างการส่งต่อความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนอีก 8 คน ในอำเภอกาบัง 7 คน คือ 1. นางสาวนูรีซา อูเซ็ง 2. นางสาวดารูณี เจะโซะ 3. นางสุไวสะ ดิง 4. นางสาวอาดิล๊ะ อาเยาะแซ 5. นางสาวไสนุง สุหลง 6. นางสาวนูรีซัน เด็นมูสอ 7. นางสาวสีตีพาตีเม๊าะ วิชา ในอำเภอยะหา 1 คน คือ 1. นางเจะบีเด๊าะ เจ๊ะและ

อ่านต่อ...
วันที่สร้าง: 31 พ.ค. 2566, 15:20
กิจกรรมที่ 3 ข้อ 3.4 สอบทานข้อมูล

- มกราคม 2565 ดำเนินงานเก็บข้อมูลแบบสำรวจในอำเภอนำร่อง 2 อำเภอ คือ อำเภอบันนังสตา และอำเภอรามัน จังหวัดยะลา รวมทั้งหมด 4,424 ครัวเรือน 18,839 คน และที่ยังไม่คีย์ข้อมูลเข้าระบบอีก 1,486 ครัวเรือน จากยอดเก็บแบบสอบถามทั้งหมด 5,910 ครัวเรือน และมีการเก็บข้อมูลครัวเรือนเพิ่มอีก 2 อำเภอ คือ อำเภอยะหา และอำเภอกาบัง รวมเป็น 4 อำเภอ 5,028 ครัวเรือน จำนวนสมาชิก 21,403 คน คือ 1. อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เก็บข้อมูลแบบสำรวจใน 5 ตำบล จำนวนครัวเรือน 1,625 ครัวเรือน และจำนวนสมาชิก 7,031 คน 2. อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เก็บข้อมูลแบบสำรวจใน 14 ตำบล จำนวนครัวเรือน 2,799 ครัวเรือน และจำนวนสมาชิก 11,808 คน 3. อำเภอยะหา จังหวัดยะลา เก็บข้อมูลแบบสำรวจใน 6 ตำบล จำนวนครัวเรือน 359 ครัวเรือน และจำนวนสมาชิก 1,669 คน 4. อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา เก็บข้อมูลแบบสำรวจใน 2 ตำบล จำนวนครัวเรือน 245 ครัวเรือน และจำนวนสมาชิก 895 คน และมีเป้าหมายในการขยายการเก็บข้อมูลแบบสำรวจอีก 6 อำเภอ คือ 1. อำเภอกรงปินัง จำนวน 713 ครัวเรือน 2. อำเภอกาบัง จำนวน 409 ครัวเรือน 3. อำเภอธารโต จำนวน 1,283 ครัวเรือน 4. อำเภอเบตง จำนวน 2,580 ครัวเรือน 5. อำเภอเมืองยะลา จำนวน 6,405 ครัวเรือน 6. อำเภอยะหาจำนวน 1,144 ครัวเรือน รวม 12,534 ครัวเรือน

อ่านต่อ...
วันที่สร้าง: 31 พ.ค. 2566, 15:20
กิจกรรมที่ 3 ข้อ 3.3 เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก (เก็บรวบรวมข้อมูลจาก 22 ตำบลในอำเภอนำร่อง)

- ดำเนินการกำหนดพื้นที่เป้าหมายการดำเนินโครงการในพื้นที่จังหวัดยะลา และลงพื้นที่ภายใต้กิจกรรมเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก (เก็บรวบรวมข้อมูลจาก 22 ตำบลในอำเภอนำร่อง) เพื่อติดตามการเก็บรวบรวมข้อมูลครัวเรือนยากจนแบบสำรวจ และร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นกับบัณฑิตอาสาประจำตำบล ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 ณ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา - ดำเนินกิจกรรมเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก (เก็บรวบรวมข้อมูลจาก 22 ตำบลในอำเภอนำร่อง) เพื่อเข้าพบพัฒนาการอำเภอ และตัวแทนบัณฑิตอาสาประจำตำบลในการนำเสนอโครงการ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ณ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา และวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ณ อำเภอธารโต จังหวัดยะลา - ดำเนินการลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก เกี่ยวกับองค์ความรู้เชิงพื้นที่ในตำบลนำร่อง ในวันที่ 10 มกราคม 2565 ณ ที่ว่าการอำเภอรามัน จังหวัดยะลา และในวันที่ 11 มกราคม 2565 ณ ที่ว่าการอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา - ดำเนินการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกโดยการจัดเวทีประชาคม ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 และให้ตัวแทนหน่วยงานต่างๆ เช่น ปลัดตำบล พช. อสม. ครูเอกชน ผู้อำนวยการ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กำนันเป็นต้น มาร่วมวิเคราะห์ บริบทของพื้นที่ ในประเด็นคำถาม ดังนี้ 1. หน้าที่ความรับผิดชอบหน่วยงาน 2. ปัญหาความยากจน 3. สาเหตุของความยากจน 4. ต้นทุน 5. แนวทางการแก้ปัญหา ณ อาคารเอนกประสงค์ อบต.กอตออตือร๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา - ดำเนินการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกโดยการจัดเวทีประชาคม ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 และให้ตัวแทนหน่วยงานต่างๆ เช่น ปลัดตำบล พช. อสม. ครูเอกชน ผู้อำนวยการ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กำนันเป็นต้น มาร่วมวิเคราะห์ บริบทของพื้นที่ ในประเด็นคำถาม ดังนี้ 1. หน้าที่ความรับผิดชอบหน่วยงาน 2. ปัญหาความยากจน 3. สาเหตุของความยากจน 4. ต้นทุน 5. แนวทางการแก้ปัญหา ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา - ดำเนินการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก ในวันที่ 8 ธันวาคม 2564 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์จริยา สุขจันทรา อาจารย์ ดร.อัจฉราพร ยกขุน อาจารย์ ดร.คืนจันทร์ ณ นคร และทีมงานโครงการฯ ลงพื้นที่สำรวจคนจนเชิงลึก เพื่อสอบทานข้อมูลครัวเรือนคนจนในระดับตำบล และหาแนวทางในการพัฒนานวัตกรรม แก้ปัญหาความยากจน ณ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา - ดำเนินการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก ในวันที่ 10 ธันวาคม 2564 โดย ผศ.ดร.นิชาวดี ตานีเห็ง และ อ.ชฎาภรณ์ สวนแสน ลงพื้นที่สัมภาษณ์ วิเคราะห์สภาพปัญหา ทุน และบริบทครัวเรือนยากจนตำบลกอตอตือร๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา หมู่ที่ 1,2,3 จำนวน 7 ครัวเรือน ร่วมวางแผนแนวทางกับผู้นำชุมชน เครือข่ายสภาเกษตรจังหวัดยะลา ด้านปัจจัยการขับเคลื่อนงานพัฒนานวัตกรรมแก้จน และเตรียมการสถานที่ดำเนินงานในปีที่ 1 ณ ตำบลกอตอตือระ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา - ดำเนินการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกโดยการจัดเวทีประชาคม ในวันที่ 21 ธันวาคม 2564 และให้ตัวแทนหน่วยงานต่างๆ เช่น ปลัดตำบล พช. อสม. ครูเอกชน ผู้อำนวยการ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กำนันเป็นต้น ร่วมวิเคราะห์ บริบทของพื้นที่ ในประเด็นคำถาม ดังนี้ 1. หน้าที่ความรับผิดชอบหน่วยงาน 2. ปัญหาความยากจน 3. สาเหตุของความยากจน 4. ต้นทุน 5. แนวทางการแก้ปัญหา ณ อาคารเอนกประสงค์ อบต.อาซ่องอำเภอรามัน จังหวัดยะลา

อ่านต่อ...
วันที่สร้าง: 31 พ.ค. 2566, 15:20
กิจกรรมที่ 3 ข้อ 3.2 เก็บข้อมูลแบบสำรวจ (20,000 ครัวเรือน) พร้อมประชุมตรวจสอบข้อมูล

- ดำเนินการเก็บข้อมูลแบบสำรวจ ตั้งแต่วันที่ 1 - 15 สิงหาคม 2564 ในระยะที่ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลได้ จำนวน 1,250 ครัวเรือน คิดเป็น 25% ใน 5,000 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 14 สิงหาคม 2564) - ดำเนินการเก็บข้อมูลแบบสำรวจ ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2564 - 18 มกราคม 2565 ในระยะที่ 2 เก็บกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 3,750 ครัวเรือน คิดเป็น 75% จาก 5,000 - ดำเนินการเก็บข้อมูลแบบสำรวจ ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2564 - 28 มกราคม 2565 มีการเก็บข้อมูลแบบสำรวจ ในจังหวัดยะลา ใน 4 อำเภอ 5,028 ครัวเรือน จำนวนสมาชิก 21,403 คน คือ 1. อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เก็บข้อมูลแบบสำรวจใน 5 ตำบล จำนวนครัวเรือน 1,625 ครัวเรือน และจำนวนสมาชิก 7,031 คน 2. อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เก็บข้อมูลแบบสำรวจใน 14 ตำบล จำนวนครัวเรือน 2,799 ครัวเรือน และจำนวนสมาชิก 11,808 คน 3. อำเภอยะหา จังหวัดยะลา เก็บข้อมูลแบบสำรวจใน 6 ตำบล จำนวนครัวเรือน 359 ครัวเรือน และจำนวนสมาชิก 1,669 คน 4. อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา เก็บข้อมูลแบบสำรวจใน 2 ตำบล จำนวนครัวเรือน 245 ครัวเรือน และจำนวนสมาชิก 895 คน และมีเป้าหมายในการขยายการเก็บข้อมูลแบบสำรวจอีก 6 อำเภอ คือ 1. อำเภอกรงปินัง จำนวน 713 ครัวเรือน 2. อำเภอกาบัง จำนวน 409 ครัวเรือน 3. อำเภอธารโต จำนวน 1,283 ครัวเรือน 4. อำเภอเบตง จำนวน 2,580 ครัวเรือน 5. อำเภอเมืองยะลา จำนวน 6,405 ครัวเรือน 6. อำเภอยะหาจำนวน 1,144 ครัวเรือน รวม 12,534 ครัวเรือน - ดำเนินการประชุมตรวจสอบข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลแบบสำรวจ และเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก เกี่ยวกับองค์ความรู้เชิงพื้นที่ในตำบลนำร่อง ในวันที่ 10 มกราคม 2565 ณ ที่ว่าการอำเภอรามัน จังหวัดยะลา และวันที่ 11 มกราคม 2565 ณ ที่ว่าการอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

อ่านต่อ...
วันที่สร้าง: 31 พ.ค. 2566, 15:20
กิจกรรมที่ 3 ข้อ 3.1 Workshop พัฒนาศักยภาพผู้เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

- ดำเนินงานวันที่ 25 กรกฎาคม 2564 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้เก็บรวบรวมแบบสำรวจ ทำความเข้าใจกระบวนการเก็บ เครื่องมือแบบสำรวจให้กับบัณฑิตอาสาและบัณฑิตว่างงานในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 100 คน โดยใช้รูปแบบการ Workshop Online - ดำเนินงานวันที่ 13-14 ธันวาคม 2564 ดำเนินงานในกิจกรรม Workshop พัฒนาศักยภาพผู้เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ณ ที่ว่าการอำเภอยะหา จังหวัดยะลา และในวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ณ ที่ว่าการอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา - ดำเนินงานวันที่ 7 -8 มกราคม 2565อบรมการคีย์ข้อมูลแบบสอบถามข้อมูลครัวเรือนยากจนเข้าระบบฐานข้อมูลครัวเรือนยากจน PPP CONNEXT Application โดยวันที่ 7 มกราคม 2565 ณ ที่ว่าการอำเภอยะหา จังหวัดยะลา และในวันที่ 8 มกราคม 2565 ณ ที่ว่าการอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา - ดำเนินการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้เก็บข้อมูล และอบรมการคีย์ข้อมูลแบบสอบถามข้อมูลครัวเรือนยากจนเข้าระบบฐานข้อมูลครัวเรือนยากจน PPP CONNEXT Application ในวันที่ 27 มกราคม 2565 ณ ที่ว่าการอำเภอธารโต จังหวัดยะลา และในวันที่ 28 มกราคม 2565 ณ ที่ว่าการอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

อ่านต่อ...
วันที่สร้าง: 31 พ.ค. 2566, 15:20
กิจกรรมที่ 2 ข้อ 2.2 Workshop พัฒนาศักยภาพเครือข่ายระดับพื้นที่ในการใช้ระบบฐานข้อมูล

- ดำเนินงานวันที่ 21 สิงหาคม 2564 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายระดับพื้นที่ในการใช้ระบบฐานข้อมูล เพื่อดำเนินการคีย์ข้อมูลคนจนเข้าระบบฐานข้อมูล โดยใช้รูปแบบการ Workshop Online - ดำเนินงาน Workshop พัฒนาศักยภาพเครือข่ายระดับพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ในวันที่ 10 มกราคม 2564 โดย ลงพื้นที่ปฏิบัติการอำเภอนำร่องเพื่อนำเสนอและให้ความรู้เกี่ยวกับการ ใช้ระบบฐานข้อมูล PPP CONNEXT Application แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น พัฒนาการอำเภอ นักวิชาการพัฒนาชุมชนและเครือข่ายบัณฑิตอาสารักษามาตุภูมิ ณ ที่ว่าการอำเภอรามัน จังหวัดยะลา - ดำเนินงาน Workshop พัฒนาศักยภาพเครือข่ายระดับพื้นที่อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ในวันที่ 11 มกราคม 2564 โดยลงพื้นที่ปฏิบัติการอำเภอนำร่องเพื่อนำเสนอและให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ระบบฐานข้อมูล PPP CONNEXT Application แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น พัฒนาการอำเภอ นักวิชาการพัฒนาชุมชนและเครือข่ายบัณฑิตอาสารักษามาตุภูมิ ณ ที่ว่าการอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา - ดำเนินงานพัฒนาศักยภาพเครือข่ายระดับพื้นที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ในการอบรมเชิงปฏิบัติการใช้ระบบคีย์ข้อมูลให้กับผู้เก็บข้อมูลในพื้นที่ (บัณฑิตอาสารักษามาตุภูมิ) ในวันที่ 7 มกราคม 2564 โดยลงพื้นที่ปฏิบัติการอำเภอนำร่องเพื่อนำเสนอและให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ระบบฐานข้อมูล PPP CONNEXT Application ณ ที่ว่าการอำเภอยะหา จังหวัดยะลา - ดำเนินงานพัฒนาศักยภาพเครือข่ายระดับพื้นที่อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ในการอบรมเชิงปฏิบัติการใช้ระบบคีย์ข้อมูลให้กับผู้เก็บข้อมูลในพื้นที่ (บัณฑิตอาสารักษามาตุภูมิ) วันที่ 8 มกราคม 2564 โดยลงพื้นที่ปฏิบัติการอำเภอนำร่องเพื่อนำเสนอและให้ความรู้เกี่ยวกับการ ใช้ระบบฐานข้อมูล PPP CONNEXT Application ณ ที่ว่าการอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา

อ่านต่อ...
วันที่สร้าง: 31 พ.ค. 2566, 15:20
กิจกรรมที่ 2 ข้อ 2.1 Workshop วิเคราะห์ บริบทสถานการณ์ปัญหา ทบทวนต้นทุนและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

- ดำเนินงานวันที่ 25 กรกฎาคม 2564 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้เก็บรวบรวมแบบสำรวจ ทำความเข้าใจกระบวนการเก็บ ทำความเข้าใจเครื่องมือแบบสำรวจให้กับบัณฑิตอาสาและบัณฑิตว่างงานในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 100 คน โดยใช้รูปแบบการ Workshop Online - ดำเนินการ Workshop วิเคราะห์ บริบทสถานการณ์ปัญหา ทบทวนต้นทุนและข้อมูลในอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 โดยทีมวิจัยพบปะหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอข้อมูลตัวอย่างบางส่วนที่คีย์เข้าระบบ PPP Connect ให้พื้นที่ปฏิบัติได้เห็นตัวอย่างข้อมูลทุนทั้ง 5 มิติ รวมทั้งการนำข้อมูลสู่กระบวนการคัดเลือกพื้นที่ตำบลนำร่องในการทำ Operating Model (OM) ณ ที่ว่าการอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา - ดำเนินการ Workshop วิเคราะห์ บริบทสถานการณ์ปัญหา ทบทวนต้นทุนและข้อมูลในอำเภอรามัน จังหวัดยะลา ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 โดยทางทีมวิจัยได้พบปะหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอข้อมูลตัวอย่างบางส่วนที่คีย์เข้าระบบ PPP Connect ให้พื้นที่ปฏิบัติได้เห็นตัวอย่างข้อมูลทุนทั้ง 5 มิติ รวมทั้งการนำข้อมูลสู่กระบวนการคัดเลือกพื้นที่ตำบลนำร่องในการทำ Operating Model (OM) ณ ที่ว่าการอำเภอรามัน จังหวัดยะลา - ดำเนินการ Workshop วิเคราะห์ บริบทสถานการณ์ปัญหา ทบทวนต้นทุนและข้อมูลในพื้นที่อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 โดยทีมวิจัยพบปะหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอข้อมูลโครงการวิจัยฯ ลักษณะการเก็บข้อมูลและร่วมกันขับเคลื่อนกลไกการสร้างความร่วมมือเครือข่ายด้านการพัฒนาชุมชนที่เข้มแข็งในการวางแผนเก็บข้อมูลใน 4 อำเภอ (เพิ่มเติม) แบบบูรณาการ ณ ที่ว่าการอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา - ดำเนินการ Workshop วิเคราะห์ บริบทสถานการณ์ปัญหา ทบทวนต้นทุนและข้อมูลในอำเภอธารโต จังหวัดยะลา ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 โดยทีมวิจัยพบปะหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอข้อมูลโครงการวิจัยฯ ลักษณะการเก็บข้อมูลและร่วมกันขับเคลื่อนกลไกการสร้างความร่วมมือเครือข่ายด้านการพัฒนาชุมชนที่เข้มแข็งในการวางแผนเก็บข้อมูลใน 4 อำเภอ (เพิ่มเติม) แบบบูรณาการ ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอธารโต จังหวัดยะลา - ดำเนินการ Workshop วิเคราะห์ บริบทสถานการณ์ปัญหา ทบทวนต้นทุนและข้อมูลในอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ในวันที่8 ธันวาคม 2564 โดยทางทีมวิจัยพบปะหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอข้อมูลโครงการวิจัยฯ ลักษณะการเก็บข้อมูลและร่วมกันขับเคลื่อนกลไกการสร้างความร่วมมือเครือข่ายด้านการพัฒนาชุมชนที่เข้มแข็งในการวางแผนเก็บข้อมูลใน 4 อำเภอ (เพิ่มเติม) แบบบูรณาการ ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา - ดำเนินการ Workshop วิเคราะห์ บริบทสถานการณ์ปัญหา ทบทวนต้นทุนและข้อมูลในพื้นที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ในวันที่ 13 ธันวาคม 2564 โดยทีมวิจัยพบปะหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอข้อมูลโครงการวิจัยฯ ลักษณะการเก็บข้อมูลและร่วมกันขับเคลื่อนกลไกการสร้างความร่วมมือเครือข่ายด้านการพัฒนาชุมชนที่เข้มแข็งในการวางแผนเก็บข้อมูลใน 4 อำเภอ (เพิ่มเติม) แบบบูรณาการ ณ ที่ว่าการอำเภอยะหา จังหวัดยะลา

อ่านต่อ...
วันที่สร้าง: 31 พ.ค. 2566, 15:21
กิจกรรมที่ 1 ข้อ 1.3 ประชุมภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ (อำเภอเป้าหมาย/ชุมชน) จำนวน 2 อำเภอ คือ อ.รามัน และ อ.บันนังสตา

- ดำเนินงานวันที่ 20 สิงหาคม 2564 จัดประชุมพูดคุยภาคีเครือข่ายในลักษณะไม่เป็นทางการ (CoreTeam) ในการแลกเปลี่ยนแนวทางในการร่วมมือการแก้ปัญหาและการพัฒนาเชิงพื้นที่จังหวัดยะลา - ดำเนินการประชุมภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ตำบลกอตอตือร๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 โดย ผศ.ดร.นิชาวดี ตานีเห็ง และทีมงาน ร่วมลงพื้นจัดเวทีประชาคมระดับตำบล เพื่อสำรวจ ค้นหา วิเคราะห์และสอบทานข้อมูลครัวเรือนคนจนในระดับตำบลเป้าหมายเพื่อการพัฒนานวัตกรรมและแนวทางการพัฒนาระบบและกลไลการแก้ปัญหาความยากจนแบบมีส่วนร่วม ณ อาคารเอนกประสงค์ องค์การบริหารส่วนตำบลกอตอตือร๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา - ดำเนินการประชุมภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์จริยา สุขจันทรา อาจารย์ ดร.อัจฉราพร ยกขุน อาจารย์ ดร.คืนจันทร์ ณ นคร ลงพื้นจัดเวทีประชาคมระดับตำบล เพื่อดูบริบท สำรวจ ค้นหา วิเคราะห์ สอบทานข้อมูลครัวเรือนคนจนในระดับตำบล และหาแนวทางในการพัฒนานวัตกรรม แก้ปัญหาความยากจน โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ซอและ เกปัน แทนผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกสรี ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น หัวหน้าโครงการกล่าวเปิดกิจกรรมในครั้งนี้ ณ อาคารเอนกประสงค์ องค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา - ดำเนินการประชุมภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ระหว่าง13 - 14 ธันวาคม 2564 โดยอาจารย์ ดร. ยุทธนา กาเด็ม ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพัตรา รุ่งรัตน์ผม อาจารย์ซูลฟีกอร์ มาโซ และทีมงานลงพื้นที่เพื่อขยายพื้นที่เก็บข้อมูลครัวเรือนยากจน ร่วมประชุมและหารือกับคุณจารุณี จันทร์แก้ว พัฒนาการอำเภอยะหา ซึ่งเป็นตัวแทนนายอำเภอยะหา ทีมงาน พช. ตัวแทนบัณฑิตอาสา รวมทั้งแกนนำสตรีฯ - ดำเนินการประชุมภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ในวันที่ 21 ธันวาคม 2564 อาจารย์ ดร.นิรันดิ์เกียรติ ลิ่วคุณูปการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐานกุล กุฎิภักดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิชาวดี ตานีเห็ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์นูรีดา จะปะกียา และทีมงานโครงการฯ ลงพื้นจัดเวทีประชาคมระดับตำบล เพื่อดูบริบท สำรวจ ค้นหา วิเคราะห์ สอบทานข้อมูลครัวเรือนคนจนในระดับตำบล และหาแนวทางในการพัฒนานวัตกรรม แก้ปัญหาความยากจน ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา - ดำเนินการประชุมภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่อำเภอกาบังและยะหา ระหว่างวันที่ 7-8 มกราคม 2565 โดยอาจารย์ ดร.ยุทธนา กาเด็ม ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพัตรา รุ่งรัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ซูลฟีกอร์ มาโซ และทีมงานโครงการฯ ลงพื้นจัดอบรมการคีย์ข้อมูลแบบสอบถามข้อมูลครัวเรือนยากจนเข้าระบบฐานข้อมูลครัวเรือนยากจน PPP CONNEXT Application ในวันที่ 7 มกราคม 2565 ณ ที่ว่าการอำเภอยะหา จังหวัดยะลา และในวันที่ 8 มกราคม 2565 ณ ที่ว่าการอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา - ดำเนินการประชุมภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ ในวันที่ 13 มกราคม 2565 โดยผศ.ดร.นิชาวดี ตานีเห็ง อาจารย์ ดร.กูมัจดี ยามิรูเด็ง อาจารย์ชฎาภรณ์ สวนแสน และทีมงานโครงการ "งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดยะลา" ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมลงพื้น เพื่อสำรวจ ค้นหา วิเคราะห์และสอบทานข้อมูลครัวเรือนคนจนในระดับตำบลเป้าหมายเพื่อการพัฒนานวัตกรรมและแนวทางการพัฒนาระบบและกลไลการแก้ปัญหาความยากจนแบบมีส่วนร่วม ณ ตำบลกอตอตือร๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

อ่านต่อ...
วันที่สร้าง: 31 พ.ค. 2566, 15:21
กิจกรรมที่ 1 ข้อ 1.2 ประชุมทำ MOU ในระดับจังหวัด

- ดำเนินงานวันที่ 25 สิงหาคม 2564 เตรียมจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ทั้งในระดับจังหวัดและระดับพื้นที่เป้าหมาย โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรม อว. ส่วนหน้า จากในการประชุมครั้งที่ 2/2564 - วันที 18 มกราคม 2565 ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.เกสรี ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น หัวหน้าโครงการฯ พร้อมด้วยทีมนักวิจัยโครงการงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดยะลา ภายใต้การกำกับดูแลของสถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาชายแดนใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมปรึกษาวิจัย ในกระบวนการทำงาน วิธีการพัฒนาครัวเรือนยากจนในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อค้นหาและสอบทาน วิเคราะห์สาเหตุความยากจน นำไปสู่การพัฒนาโมเดลและรูปแบบการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่น และได้มีการประชุมเตรียมการในการจัดทำ MOU โดยจะมีการทำ MOU ร่วมกันในเดือนกุมภาพันธ์ ณ ห้องประชุมหยางฉือ สวพ.

อ่านต่อ...
วันที่สร้าง: 31 พ.ค. 2566, 15:21