JPTOTO

โครงการวิจัย “งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดยะลา”




โครงการวิจัย


โครงการ งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดยะลา (2565)

โครงการวิจัยเรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จ และแม่นยำจังหวัดยะลา” มีเป้าหมายสำคัญเพื่อการสร้างระบบและกลไกการแก้ปัญหาความยากจนระดับพื้นที่ที่เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยลันวัตกรรม (อว.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและสอบทานคนจนกลุ่มเป้าหมายที่กระจายอยู่ในพื้นที่จังหวัดยะลาอย่างแม่นยำ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุความยากจนของกลุ่มเป้าหมายจังหวัดยะลา เพื่อพัฒนาโมเดลและรูปแบบการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดยะลา และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดยะลา วิธีการดำเนินการวิจัยของโครงการวิจัยเรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดยะลา” ใช้เทคนิคการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (R+D) เพื่อตอบคำถามการวิจัย โดยมีรายละเอียด ของวิธีการดำเนินการวิจัยโดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายและพื้นที่นำร่อง ประกอบด้วย พื้นที่จังหวัดยะลา 8 อำเภอ 58 ตำบล โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่นำร่อง คือ (1) เป็นอำเภอที่มีการกระจุกตัวของคนจนสูง (2) เป็นพื้นที่ ๆ มีกลไกความร่วมมือที่มีความเข้มแข็ง และ (3) เป็นพื้นที่ ๆ มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง โดยมีอำเภอรามันและอำเภอบันนังสตา เป็นพื้นที่ ๆ เข้าเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อ เพื่อการดำเนินการพัฒนาโมเดลความยากจน กิจกรรมการดำเนินงานภายใต้โครงการวิจัย “งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดยะลา” ประกอบด้วย 1. พัฒนาระบบและกลไกความร่วมมือในระดับพื้นที่ 2. ศึกษาบริบท สถานการณ์ปัญหา ทบทวนต้นทุนพื้นที่และจากฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น TPMAP จปฐ. และอื่น ๆ 3. สำรวจค้นหาและสอบทานข้อมูลคนจน 4. วิเคราะห์จัดกลุ่มคนจน และคืนข้อมูลให้กับชุมชน 5. พัฒนาระบบและกลไกการส่งต่อความช่วยเหลือ 6. พัฒนาโมเดลการแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่นำร่อง (Operating Model/Pilot Project) และการใช้นวัตกรรมแก้จน และ 7. พัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการด้วยการวิจัยเชิงพื้นที่ โดยมีผลผลิตสำคัญ คือ 1) มีคณะบุคคลหรือกลไกในการทำงานเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนในจังหวัดยะลา 2) มีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) 3) ได้ระบบฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนในระดับพื้นที่จากการวิเคราะห์ทุนทั้ง 5 ด้าน 4) ได้ค้นหาและสอบทานข้อมูลคนจนอย่างน้อย 20,000 คนหรือ 5,000 ครัวเรือน 5) ได้ระบบและกลไกการส่งต่อความช่วยเหลืออย่างน้อย 3 ระบบ 6) ส่งต่อความช่วยเหลือหรือได้รับการพัฒนาอาชีพอย่างน้อยร้อยละ 10 หรือ 2,000 ราย และ 7) มีนวัตกรรมแก้จนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่สอดคล้องกับบริบทของกลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย 3 นวัตกรรม ผลลัพธ์สำคัญ คือ การนำข้อค้นพบนวัตกรรมแก้จน นวัตกรรมการส่งต่อคณะ นวัตกรรมการทำงานในพื้นที่ที่เป็นบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมพหุภาษาไปประยุกต์แก้ปัญหาในพื้นที่อื่นและนำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำไปใช้แก้ปัญหาความยากจนของจังหวัดยะลา และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น คือ จังหวัดยะลาได้รับการแก้ปัญหาความยากจนทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยมีผลการดำเนินงานในระยะ 8 เดือน ดังนี้ 1. กิจกรรมพัฒนาระบบและกลไกความร่วมมือในระดับพื้นที่ โดยมีประชุมคณะกรรมการบริหารหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จังหวัดยะลา เพื่อหารือแนวทางการดำเนินโครงการในระดับจังหวัด โดยการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน มีการจัดประชุมคณะกรรมการเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานและแนวทางการบูรณนาการการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนใหญ่การพัฒนาจังหวัดยะลา ตามนโยบาย มีการประชุมคณะกรรมการข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจนจังหวัดยะลา มีการประชุมเตรียมการในการจัดทำ MOU โดยจะมีการทำ MOU ร่วมกันในเดือนกุมภาพันธ์ และประชุมภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ 2 อำเภอและ 3 ตำบลนำร่อง คือ 1) ตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา 2) ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา และ ตำบลกอตอตือร๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา 2. ศึกษาบริบท สถานการณ์ปัญหา ทบทวน ต้นทุนพื้นที่และจากฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลนำร่อง (TPMAP) เพื่อยืนยันจำนวนครัวยากจนจากภาคีความร่วมมือและชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการเก็บข้อมูลครัวเรือนตกหล่นตกสำรวจเพื่อให้การเก็บข้อมูลในพื้นที่ปฏิบัติการสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดอบรม Workshop วิเคราะห์ บริบทสถานการณ์ปัญหา ทบทวนต้นทุนและข้อมูล และการคีย์เข้าระบบ PPP Connect ข้อมูลทุนทั้ง 5 มิติ รวมทั้งการนำข้อมูลสู่กระบวนการคัดเลือกพื้นที่ตำบลนำร่องในการทำ Operating Model (OM) ใน 2 อำเภอนำร่อง คืออำเภอรามันและอำเภอบันนังสตา และขยายเพิ่มเติมอีก 2 อำเภอคือ อำเภอกาบัง และอำเภอยะหา เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เก็บรวบรวมแบบสำรวจ ทำความเข้าใจกระบวนการ เครื่องมือแบบสำรวจให้กับบัณฑิตอาสาและบัณฑิตว่างงานในพื้นที่เป้าหมาย 3. สำรวจค้นหาและสอบทานข้อมูลคนจน ผู้เก็บข้อมูลในพื้นที่เป็นผู้ค้นหาและให้ผู้นำ 4 เสาหลัก (ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้นำตามธรรมชาติ) เป็นผู้ยืนยันความถูกต้องของข้อมูล ส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าสู่กระบวนการแก้ปัญหา มีการลงพื้นที่ปฏิบัติการอำเภอนำร่องเพื่อนำเสนอและให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการโครงการวิจัยฯ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่นพัฒนาการอำเภอ นักวิชาการพัฒนาชุมชนและเครือข่ายบัณฑิตอาสารักษามาตุภูมิ นำข้อมูลที่ได้จัดเก็บในพื้นที่อำเภอมาตรวจสอบ และดำเนินการคีย์ข้อมูลเข้าระบบ 2 อำเภอ คือ อำเภอบันนังสตา และอำเภอรามัน จังหวัดยะลา รวมทั้งหมด 4,424 ครัวเรือน 18,839 คน และที่ยังไม่คีย์ข้อมูลเข้าระบบอีก 1,486 ครัวเรือน จากยอดเก็บแบบสอบถามทั้งหมด 5,910 ครัวเรือน และมีการเก็บข้อมูลครัวเรือนเพิ่มอีก 2 อำเภอ คือ อำเภอยะหา และอำเภอกาบัง รวมเป็น 4 อำเภอ 5,028 ครัวเรือน จำนวนสมาชิก 21,403 คน คือ 1) อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เก็บข้อมูลแบบสำรวจใน 5 ตำบล จำนวนครัวเรือน 1,625 ครัวเรือน และจำนวนสมาชิก 7,031 คน 2) อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เก็บข้อมูลแบบสำรวจใน 14 ตำบล จำนวนครัวเรือน 2,799 ครัวเรือน และจำนวนสมาชิก 11,808 คน 3) อำเภอยะหา จังหวัดยะลา เก็บข้อมูลแบบสำรวจใน 6 ตำบล จำนวนครัวเรือน 359 ครัวเรือน และจำนวนสมาชิก 1,669 คน 4) อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา เก็บข้อมูลแบบสำรวจใน 2 ตำบล จำนวนครัวเรือน 245 ครัวเรือน และจำนวนสมาชิก 895 คน 4. พัฒนาระบบและกลไกการส่งต่อความช่วยเหลือ โดยระบบกลไกความช่วยเหลือผู้ยากลำบาก สำรวจพบผู้ยากลำบากจังหวัดยะลาที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน เป็นข้อมูลครัวเรือนยากจนวิกฤต จำนวน 5 ครัวเรือน ได้แก่ อำเภอรามัน จำนวน 2 ครัวเรือน ซึ่งมีความยากจนด้านความเป็นอยู่ และด้านรายได้ และ อำเภอบันนังสตา จำนวน 3 ครัวเรือน ซึ่งมีความยากจนด้านความเป็นอยู่ ด้านรายได้ และด้านสุขภาพ ที่ต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉิน อีกทั้ง อยู่ระหว่างการส่งต่อความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนอีก 8 คน ในอำเภอกาบัง 7 คน และอำเภอยะหา 1 คน ส่งต่อความช่วยเหลือให้กับครัวเรือนยากจนวิกฤตผ่านศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดยะลา 5. พัฒนาโมเดลการแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่นำร่อง (Operating Model/Pilot Project) และการใช้นวัตกรรมแก้จน มีการวิเคราะห์บริบทของพื้นที่เพื่อออกแบบนวัตกรรมแก้จน (Operating model/ Pilot project) ที่สอดคล้องกับบริบทของกลุ่มเป้าหมายจากปัญหาคนจนและทุน 5 ด้าน โดยมีการลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์บริบทพื้นที่ของแต่ละ OM เพื่อออกแบบนวัตกรรมแก้จนที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ที่มีทุนด้านต่างๆที่สูงและต่ำ รวมทั้งวิเคราะห์กรอบการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (SLF) ในอำเภอนำร่อง 2 อำเภอ 3 ตำบล นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมโมเดลแก้จน 3 นวัตกรรม ภายใต้ชื่อ 1) ตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา นวัตกรรมการยกระดับเกษตรแบบผสมผสาน (JAPO Model) 2) ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา นวัตกรรมส่งเสริมธุรกิจเกษตรริมฝั่งแม่น้ำ และ 3) ตำบลกอตอตือร๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา นวัตกรรมส่งเสริมอาชีพเพื่อการดำรงชีพและเชิงพาณิชย์

อ่านต่อ...
วันที่สร้าง: 20 เม.ย. 2565, 09:42